Powered By Blogger

วันเสาร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2553

KM Model




โมเดลปลาทู ประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือ
1. หัวปลา (Knowledge Vision :KV) หมายถึง ผู้บริหารของ ลท. ทั้งในระดับฝ่าย ผู้ช่วยฝ่าย และ ผู้จัดการส่วน ต่างให้ความสำคัญต่อการจัดการความรู้ และช่วยผลักดันให้เกิดการดำเนินกิจกรรมต่างๆ และเข้าใจว่า ทำ KM ไปเพื่ออะไร และร่วมประชุมหารือเพื่อหาแนวทางให้เกิดการกระบวนการจัดการความรู้ขึ้น 2. ตัวปลา (Knowledge Sharing :KS) หมายถึง วิธีการและกระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้ ตาม KM Action plan เพื่อให้พนักงานทุกคนใน ลท. มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการความรู้ทั้งของ กสท และ ลท.ในทิศทางเดียวกัน โดยมองถึงความรู้ที่ทุกคนสามารถเข้าใจได้เหมือนกัน ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นการสร้างพลังที่แข็งแกร่ง ถ่ายทอดไปยังส่วนหางของปลาทูต่อไป 3. หางปลา Knowledge Asset : KA) หมายถึง การจัดเก็บในคลังความรู้ขององค์กรอย่างเป็นระบบ เกิดเป็นชุมชนนักปฏิบัติที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกัน ว่ายน้ำไปในทิศทางเดียวกัน
โมเดลไข่ประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอน ที่ไม่ต้องเรียงลำดับหากแต่ ผสมผสานกันจนกลายเป็นไข่ทั้งฟอง 1. การจัดการให้เกิดการเรียนรู้(Learning) เพื่อมุ่งหวังว่าจะสามารถสร้างภาพฝันร่วมกันของพนักงานทุกคนใน ลท. ได้อย่างง่ายๆ (Simplify)ไปกับงานประจำเดิมที่ทำอยู่ พร้อมกับสร้างสภาพแวดล้อม(Surrounding) ต่างๆขององค์การให้เอื้อต่อการเรียนรู้ เนื่องจากการเรียนรู้เป็นบ่อเกิดของความรู้และปัญญา โดยต้องมีการเตรียมคน เตรียมทีม เตรียมกิจกรรม เตรียมเครื่องมือเทคโนโลยีและเตรียมบรรยากาศองค์การที่ดีที่จะทำให้คนเกิดการเรียนรู้ได้ดี มีความคิดสร้างสรรค์ ในขั้นตอนนี้คุณเอื้อจะมีบทบาทหลัก ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่ ลท. ได้เลือก “การใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ “ เป็นหัวข้อเรื่องในการจัดการความรู้ของ ลท. เนื่องจากทุกคนสามารถเข้าไปใช้งานได้ และมีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่รองรับกิจกรรมการจัดการความรู้นี้อยู่แล้ว
2. การจัดการให้เกิดองค์ความรู้(Knowledge Organizing) เพื่อให้พนักงานทุกคนใน ลท. รู้ว่าหน่วยงานของเราต้องมีความรู้อะไรจึงจะทำให้งานได้ผลดี เมื่อรู้แล้วจะไปหามาจากไหนได้บ้าง จะสร้าง จะค้นหามาไว้เพื่อนำเอามาจัดรวมให้เป็นวิธีการทำงาน หรือนวัตกรรมของ ลท. ซึ่งในขั้นตอนนี้คุณประกอบ หรือพนักงานทุกคนจะมีบทบาทหลัก
3. การจัดการให้เกิดการใช้ความรู้(Knowledge Acting) เพื่อทำให้องค์ความรู้ที่มีอยู่นั้นได้มีโอกาสนำมาใช้หรือทดลองปฏิบัติจริงในหน่วยงานของ ลท. ดังนั้นใน ขั้นตอนนี้คุณกิจจะมีบทบาทหลักในการช่วยผลักดันให้พนักงานใน ลท. ร่วมกันใช้ความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรมระบบสารสบรรณอิเล็กทรอนิกส์มาใช้จริงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
4. การจัดการให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing) เพื่อให้คนทำงานที่ทำงานได้ผลดีได้นำเอาวิธีที่ปฏิบัติจนได้ผลดีนั้นมาเล่าแลกเปลี่ยนให้คนอื่นๆได้รับทราบและนำเอาไปประยุกต์ใช้ได้ โดยการสร้างปลาขึ้นจนครบทั้งหัว ตัวและหางปลา ทำให้เราได้วิธีการปฏิบัติที่ดีขึ้นขั้นนี้คุณอำนวย และคุณประสาน มีบทบาทหลัก
5. การจัดการให้เกิดคลังความรู้ (Knowledge Asset) เพื่อให้มีการจัดเก็บ เผยแพร่ ทบทวน เข้าถึงความรู้ที่ดีที่ผ่านการนำไปปฏิบัติอย่างเห็นผลมาแล้ว ไว้ให้คนอื่นๆได้เอาไปดู ไปใช้ เอาไปต่อยอดได้ง่ายจนเกิดพลังความรู้มากขึ้นหรือยกระดับความรู้มากขึ้น(Spiral knowledge)ขั้นนี้คุณลิขิตมีบทบาทหลัก

KM...?

การจัดการความรู้ หรือ KM ซึ่งที่ย่อมาจากคำว่า “Knowledge Management”
Knowledge Management หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า KM นั้นก็คือแนวทางการบริหารแนวทางการทำงานภายในองค์กรเพื่อทำให้เกิดการนิยาม ความรู้ขององค์กรขึ้น และทำการรวบรวม, สร้าง, และกระจายความรู้ขององค์กรไปให้ทั่วทั้งองค์กรเพื่อให้เกิดการต่อยอดของความ รู้, นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ รวมถึงก่อให้เกิดวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ภายในองค์กรขึ้น
คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
ความรู้ คืออะไร ?ความรู้ คือ สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษา เล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะความเข้าใจ หรือ สารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์ สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิด หรือ การปฏิบัติ องค์วิชาในแต่ละสาขา (ที่มา : พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน)

รูปแบบของความรู้ เป็นอย่างไรบ้าง ? รูปแบบของความรู้ มี 2 ประเภท คือ1. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็น ความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีการต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ เอกสาร กฎระเบียบ วิธีการปฏิบัติงาน สื่อต่างๆ เช่น VCD DVD Internet เทป เป็นต้น และบางครั้งเรียกว่า ความรู้แบบรูปธรรม 2. ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) เป็น ความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูด หรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ ประสบการณ์ แนวความคิด บางครั้งจึงเรียกว่า ความรู้แบบนามธรรมขอบเขตและเป้าหมาย KM เป็นอย่างไรบ้าง ?ก่อน ที่จะมีจัดการความรู้ หรือทำ KM จะต้องมีการกำหนดขอบเขต และเป้าหมาย KM ก่อน ซึ่ง ขอบเขต KM เป็นหัวเรื่องกว้างๆ ของความรู้ที่จำเป็นและสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ตามแผนบริหารราชการแผ่น ดิน ซึ่งต้องการจะนำมากำหนดเป้าหมาย KM ซึ่งแต่ละองค์กรสามารถใช้แนวทาง ในการกำหนดขอบเขตและเป้าหมายKM เพื่อจัดทำแผนการจัดการความรู้ขององค์กร ได้ 4 แนวทาง คือ แนวทางที่ 1 เป็นความรู้ที่จำเป็นและสนับสนุนวิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ขององค์กร แนวทางที่ 2 เป็นความรู้ที่สำคัญต่อองค์กร เช่น ความรู้เกี่ยวกับลูกค้า ประสบการณ์ความรู้ที่สั่งสมมา แนวทางที่ 3 เป็นปัญหาที่องค์กรประสบอยู่ และสามารถนำ KM มาช่วยได้ แนวทางที่ 4 เป็นแนวทางผสมกันระหว่างแนวทางที่ 1 , 2 หรือ 3 หรือจะเป็นแนวทางอื่นที่องค์กรเห็นว่าเหมาะสม